แบบห้องครัว ที่ดีจะต้องมาพร้อมกับฟังก์ชั่นการใช้งานภายในห้องครัวที่ครบครันเพื่อการปรุงแต่งอาหารภายในห้องครัวนั้นจะได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นดังนั้นการคิดที่เราคำนึงถึง แบบห้องครัว ที่ดีจะต้องเน้นไปที่ผู้ใช้งานเป็นหลักว่าต้องการการใช้งานในสวนไหนมากที่สุดและจัดสรรพื้นที่ภายในห้องให้เหมาะสม
การวางแปลน แบบห้องครัว จึงแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ตามขนาดและรูปร่างแบบดังนี้
1. การจัดแบบแถวยาวตลอด : เป็นครัวที่มีการจัดวางเป็นแบบแถวเดียวชิดผนังหมด 2. การจัดแบบตัวยู : เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่เหลือเฟือ ทั้งบ้านและครัวนี้ จึงมีความยืดหยุ่นมากที่สุด เพราะยังสามารถขยายพื้นที่ ของเคาน์เตอร์และชั้นเก็บของต่างๆได้
3. การจัดแบบแถวยาวตามทางเดิน : เป็นครัวที่อยู่ในบริเวณ ที่ขนาบทางเดิน แคบๆ โดยมีทางเดินอยู่แนวกลาง ทุกๆอย่างในครัวนี้ จะอยู่ใกล้มือมาก จึงอำนวย ความสะดวกได้มากที่สุด
4. การจัดแบบตัวแอล : เป็นครัว ที่ใช้การได้ดีเช่นกัน สำหรับการทำงาน ในจุดทั้งสาม (เตา,อ่าง,ตู้เย็น) เหมาะกับห้อง ที่มีเนื้อที่ปานกลาง และเป็นบ้านโล่งๆ ที่ไม่มีการ กั้นแบ่งห้องทุกห้อง
ส่วนหลักการออกแบบห้องครัวที่ดีนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยในการออกแบบดังนี้
– ฝ้าเพดาน : การออกแบบฝ้าเดานภายในห้องครัวควรที่มีความสูงจากพื้นห้องฝ้าเพดานจะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร เพื่อความสะดวกในการถ่ายเทอากาศ และวัสดุที่ใช้ควรเป็นแบบแผ่นเรียบที่ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย ทนความร้อน ทนความชื้นได้ดีในระดับหนึ่ง และเป็นวัสดุไม่ลามไฟ เช่น ยิปซั่มบอร์ด ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น
– ท็อปเคาน์เตอร์ : บริเวณขอบของเคาเตอร์ควรจะลบมุมขอบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานเวลาเกิดการชน หรือ การกระแทกโดยไม่ตั้งใจควรใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทานสามารถรับน้ำหนักแรงกดได้ดี ทนทานต่อรอยขีดข่วนไม่แตกหักง่าย ทนความร้อน ทนความชื้น ทนกรดด่าง หรือ สารเคมีต่างๆ และมีพื้นผิวมัน เพื่อความสะดวกในการกำจัดคราบสกปรกจากการปรุงอาหาร
– พื้น : การออกแบบตกแต่งพื้นห้องครัว ควรออกแบบให้ลดระดับต่ำกว่าพื้นห้องอื่นๆประมาณ 5-10 ซม. และจะต้องมีองศาพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อยซึ่งจะช่วยให้การระบายน้ำสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากเวลาที่ปรุงอาหารพื้นจะเป็นส่วนที่สกปรกได้ง่ายจากคราบวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารซึ่งมักจะหล่นลงสู่พื้นในระหว่างปรุง วัสดุที่เหมาะสมกับการปูพื้นห้องครัวนั้น ควรเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อรอยขีดข่วน ทนความร้อน ทนความชื้น ทนกรดด่าง หรือ สารเคมีต่างๆ และดูแลรักษาทำความสะอาดได้ง่าย เช่น กระเบื้องที่มีพื้นผิวไม่มันหรือด้านจนเกินไป พื้นลามิเนต หรือ พื้นกระเบื้องยาง จะมีความสวยงาม แต่ในแง่การใช้งานจริงมักจะทำความสะอาดได้ยาก และไม่ค่อยทนทาน แต่ถ้าหากอยากจะนำมาใช้งานจริงๆควรนำมาใช้งานในครัวฝรั่ง เพราะมีกรรมวิธีปรุงอาหารที่เรียบง่ายกว่า และมีความสกปรกน้อยกว่าครัวไทย
– ผนัง : ถ้าหากทาสี แนะนำว่าควรใช้สีน้ำมัน หรือสีอะครีลิคกึ่งเงาแทนการใช้สีน้ำพลาสติคสำหรับทาภายในทั่วไป เนื่องจากสามารถทำความสะอาดคราบเขม่า คราบควัน ที่เกิดจากการปรุงอาหารได้ง่ายกว่าสีทาบ้านทั่วไปแต่ถ้าหากเลือกใช้วัสดุตกแต่งปิดผิวผนัง ควรใช้วัสดุที่ทนทานต่อรอยขีดข่วน ทนความร้อน และมีพื้นผิวมัน เพื่อความสะดวกในการกำจัดคราบสกปรกจากการปรุงอาหาร เช่น กระเบื้องเคลือบที่มีพื้นผิวไม่มันหรือด้านจนเกินไป กระจกเคลือบสี หรือ คริสตัลบอร์ด ซึ่งเหมาะกับครัวไทยอย่างแน่นอน Gurude.co