ต่อเติมหน้าบ้านแบบถาวร

2653
หน้าบ้าน

  การออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยนอกจากตกแต่งภายในให้เกิดความสวยงามและครบครัน บริเวณส่วนนอกหรือภายนอกของบ้านก็สำคัญไม่แพ้กันโดยเฉพาะทางเข้าส่วน หน้าบ้าน หรือพื้นที่ส่วนที่เหลือซึ่งนอกจากเปิดไว้ให้โล่งอีกหนึ่งไอเดียที่กำลังได้รับความสนใจคือการเสริมพื้นที่ว่างส่วนนอกของบ้านด้วยการต่อเติมหลังคาการต่อเติมหลังคามีประโยชน์อย่างหลากหลายในแง่ของการใช้สอยไม่ว่าจะเป็น การตกแต่งพื้นที่ส่วนนอกให้เกิดร่มเงาเกิดเป็นพื้นที่พักผ่อนต่างๆโดยเฉพาะในส่วน หน้าบ้าน เช่น นั่งเล่นหรือรับรองผู้มาเยือน หรือจะใช้เป็นโรงจอดรถซึ่งเป็นส่วน หน้าบ้าน ก็ยิ่งดูลงตัวดียิ่งไปกว่านั้นยังเหมาะแก่การสันทนาการได้อีกด้วยโดยการต่อเติมหลังคานั้นแสดงออกถึงการจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านให้เกิดความคุ้มค่า ซึ่งจะพบเจอกับบ้านที่ซื้อมาจากโครงการทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือแม้บางครั้งบ้านที่ปลูกสร้างเองก็มีการต่อเติมแบบดังกล่าวเช่นกัน ด้านวัสดุก่อสร้างที่นำมาใช้หลักๆจะต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงเช่น งานไม้หรืองานเหล็กแต่ในส่วนของหลังคาหรือการมุงนั้นเราสามารถเลือกรูปแบบของหลังคาให้สอดรับกับงบประมาณหรือความต้องการในการระบายความร้อน เช่น หลังคากระเบื้องทั่วไป สังกะสีรวมทั้งหลังคาไวนิล สำหรับรูปทรงจะดีไซน์ออกมาในแบบเพิงหมาแหงนเพื่อแสดงออกถึงความกลมกลืนกับตัวบ้าน ขณะที่ความกว้างและความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เหลือ
  วิธีต่อเติมหลังคาบ้านไม่ให้กระทบโครงสร้างบ้าน
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าโครงสร้างพื้นและเสาบ้านของคุณเป็นอย่างไร เพราะโครงสร้างบ้านแต่ละแบบไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการต่อเติมเพิ่มเสมอไป ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. โครงสร้างพื้น : เมื่อพูดถึงโครงสร้างพื้นจะแบ่งเป็น พื้นคอนกรีตวางบนดิน และพื้นคอนกรีตวางบนคาน พื้นคอนกรีตแบบแรกจะถ่ายน้ำหนักลงบนดินโดยตรง ต้องแยกจากโครงสร้างส่วนอื่น เพื่อป้องกันการทรุดตัวตามดินที่สูงขึ้น หากต้องการต่อเติมและลงเสาติดกับพื้นคอนกรีตแบบนี้ควรคั่นด้วยแผ่นโฟมเอาไว้ ส่วนพื้นคอนกรีตแบบหลังจะถ่ายน้ำหนักลงคานโดยตรง เหมาะแก่การใช้ในบ้านและอาคารทั่วไป
2. โครงสร้างเสาเข็ม : เสาเข็มจะช่วยพยุงน้ำหนักและป้องกันไม่ให้ทรุดตัว ควรพิจารณาว่าใช้เสาเข็มแบบใด ฝังลงไปลึกแค่ไหน ชั้นดินที่เสาเข็มนั้นมีความแข็งมากน้อยเท่าใด หากฝังลงดินไม่แน่นมากพอ ก็เสี่ยงทำให้โครงสร้างบ้านและการต่อเติมอื่นทรุดตัวตามลงไปได้
  วิธีต่อเติมหลังคาบ้านไม่ให้กระทบเพื่อนบ้าน
สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาประเด็นต่อเติมหลงคาบ้านกับเพื่อนบ้าน คือ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถี่ถ้วน โดยกฎหมายและข้อควรระวังเกี่ยวกับต่อเติมหลังคาบ้านที่ต้องศึกษาเพื่อลดข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน มีดังนี้
1. ข้อควรระวังระยะชายคาหรือกันสาด ควรเว้นระยะหลังคาจนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
2. ข้อควรระวังระเบียงชั้นบน หากคุณต้องต่อเติมหลังคาตรงระเบียงชั้นบน ต้องเว้นระยะจากระเบียงจนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
นอกจากนี้ หากต้องมีการต่อเติมส่วนใดที่อาจกระทบกับเพื่อนบ้าน เจ้าของบ้านจำเป็นจะต้องพูดคุยขอความยินยอมจากเพื่อนบ้านก่อนการต่อเติมด้วย และในบางกรณีอาจต้องมีหนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคตจะเห็นได้ว่าการต่อเติมหลังคาบ้านหรืองานตกแต่งดูแลสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ไม่เพียงทำขึ้นเพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างความสุขและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้านอีกด้วย Gurude.co