บ้านร้อนแก้ได้ด้วยแผ่นกันความร้อน

2116
แผ่นกันความร้อน

               ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนซึ่งแดดในบ้านเรานั้นร้อนขึ้นทุกปีๆจนทำให้หลายๆคนพยายามมองหาวิธีแก้ที่จะสามารถช่วยลดความร้อนให้กับตัวบ้าน ถึงแม้ว่าหลังคาจะเป็นวัสดุชิ้นแรกที่ทำหน้าที่ในการปกป้องกันแดดกันฝนและกันความร้อนได้ แต่สำหรับในบ้านเราที่มีอากาศร้อนจัดๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาระหว่างวัน จึงจำเป็นที่ต้องทำการเสริม “ฉนวนกันความร้อน หรือ แผ่นกันความร้อน ” เพิ่มให้กับหลังคาบ้าน เพื่อลดการสะสมของอุณหภูมิและป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านให้ได้มากที่สุด นอกจากจะบรรเทาความร้อนที่จะสู่เข้าสู่บ้านแล้ว การติดตั้งฉนวนยังช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย ซึ่งฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้งานก็มีหลากหลายประเภท เราไปดูกันว่าแบบไหนใช้งานอย่างไรกันบ้าง
การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน หรือ แผ่นกันความร้อน โดยทั่วไปส่วนใหญ่ช่างจะแนะนำวิธีหลักๆอยู่ 3 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 คือติดตั้งบนหลังคา ฉนวนที่ติดตั้งบนแผ่นหลังคา เช่น สีสะท้อนความร้อนจะทำหน้าที่สะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคาบ้าน การติดตั้งแบบนี้จะนิยมทำเพิ่มเติมและเสริมเข้าไปพร้อมกับการติดตั้งฉนวนแบบอื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนซึ่งฉนวนกันความร้อนก็มีด้วยกันหลากหลายประเภทหลายแบบ ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ในการป้องกันความร้อน แต่ถ้าหากแบ่งตามคุณสมบัติฉนวนกันร้อนจะมี 2 คุณสมบัติหลักๆคือ คุณสมบัติในการดูดซับความร้อนและคุณสมบัติในการสะท้อนความความร้อน
วิธีที่ 2 คือติดตั้งบนฝ้า สำหรับฉนวนแบบม้วนวางบนฝ้าเพดาน ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็จะมี พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์, พอลิเอทิลีนโฟม ,พอลิยูรีเทนโฟม และฉนวนใยแก้ว เป็นวัสดุที่มีความหนาและหุ้มด้วยวัสดุกันความชื้นจากแผ่นฟอยล์ สามารถช่วยลดการสะสมของความร้อนที่ตัวหลังคา ส่งผลให้พื้นที่ใต้หลังคามีความร้อนลดลง ทำให้บ้านโดยเฉพาะชั้นบนของตัวบ้านที่อยู่ถัดจากหลังคาลงจะมีมาความร้อนลงลด แต่จะต้องมีช่องระบายเพื่อให้ความร้อนออกโดยปกติแล้วจะอยู่บริเวณฝ้า-ชายคาบ้าน  เพื่อช่วยลดความร้อนใต้หลังคาไม่ให้สะสมมากเกินไป
วิธีที่ 3 คือติดตั้งใต้แผ่นหลังคา
ฉนวนที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา เช่น ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น อะลูมิเนียมฟอยล์ พอลิเอทิลีนโฟม , พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ และฉนวนชนิดฉีดพ่น ที่มีส่วนผสมของเยื่อกระดาษทำหน้าที่ลดความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา แต่ขั้นตอนการติดตั้งต้องติดฉนวนแบบนี้ไปพร้อมกับการสร้างหลังคาตั้งแต่สร้างบ้าน แต่ข้อดีขอบการติดตั้งในรูปแบบนี้จะสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าแบบอื่นๆ
               การดูแลรักษาฉนวนกันความร้อน
               หากเทียบกันแล้ว ฉนวนที่ปูบนฝ้าเพดานมักรื้อเปลี่ยนได้ง่ายกว่า โดยสามารถลำเลียงฉนวนเข้าออกทางช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดานได้ ส่วนการรื้อเปลี่ยนฉนวนที่ติดตั้งใต้หลังคาส่วนใหญ่มักต้องมีการรื้อกระเบื้องหลังคา ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากกว่า Gurude.co