ปัญหาโคมไฟเพดานไม่ติด

2854
โคมไฟเพดาน

               โคมไฟเพดาน ภายในบ้านของคุณมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างยาวนานพอสมควร แต่ถึงแม้จะไม่ต้องปีนขึ้นไปเปลี่ยนโคมไฟเพดานบ่อย ๆ ยังไงวันหนึ่งก็ต้องถึงเวลาของมันอยู่ดี แต่ก่อนที่เราจะรู้วิธีเปลี่ยนโคมไฟเพดานต้องรู้สาเหตุหลักก่อนว่าทำไมเจ้าโคมไฟเพดานทำไมถึงเสียซึ่งมี 3 ปัจจัยดังนี้      
3 สาเหตุหลักที่ทำให้ LED มีปัญหาและเสียหายบ่อยครั้งมีดังนี้

1.ติดตั้งในจุดที่อุณหภูมิสูงเกินกำหนด เลือกโคมไฟไม่เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน หรือผู้ผลิตออกแบบโคมไฟไม่เหมาะกับพื้นที่ใช้งาน
2.ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ Surge protection หรือ Surge protection ไม่รองรับระดับแรงดันไฟเกิน
3.มีแรงดันไฟเกิน ไฟกระชากบ่อยครั้ง ทำให้ Driver LED เสียหาย
ลองมาดูวิธีแบบเจาะลึกทีละขั้นตอนก่อนดีกว่า เปลี่ยนโคมไฟเพดานบ้านครั้งนี้และครั้งต่อ ๆ ไปจะได้ไม่ต้องพึ่งช่างไฟ
               วิธีเปลี่ยน โคมไฟเพดาน
          1. ตัดกระแสไฟภายในบ้านให้เรียบร้อย เมื่อสับคัตเอาท์แล้ว ให้ลองเปิดสวิตช์ไฟดูอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีกระแสไฟไหลผ่านวงจรไฟฟ้าแล้วจริง ๆ
          2. ตั้งบันไดช่างให้มั่นคง เพื่อจะได้ปีนขึ้นไปเปลี่ยนโคมไฟเพดาน
          3. ใช้ไขควงคลายนอตรอบ ๆ โคมไฟอันเก่า โดยใช้มือข้างหนึ่งประคองน้ำหนักของโคมไฟเพดานไว้ แล้วใช้มือข้างที่เหลือคลายนอตให้หลุดออกมา แต่ถ้าหากมีคนคอยช่วยสักคนก็จะดีมาก เพราะโคมไฟบางอันก็หนักเกินกว่าจะประคองด้วยมือข้างเดียวไหว
          4. ถอดโคมไฟเพดานอันเก่าออก โดยถอดนอตที่ยึดติด จากนั้นแกะไวร์นัท แล้วคลายสายไฟที่พันกันอยู่ให้แยกออกจากกัน หรือคุณจะใช้เครื่องมือมาตัดสายไฟตรงส่วนนี้ออกก็ได้ แต่ตัดสายไฟเฉพาะส่วนที่ไม่ได้ติดต่อกับส่วนโคม
          5. นำหลอดไฟอันใหม่มาติดตั้ง โดยเลียนแบบวงจรไฟฟ้าแบบเดิม
          6. เชื่อมต่อสายดิน โดยสายดินจะมีลักษณะเป็นแผง หรือสลักสีเขียว ให้คุณนำสายไฟสีเขียว หรือขดลวดทองแดงออกมาจากส่วนโคม แล้วมาพันกับแผงวงจร จากนั้นใช้ไขควงขันให้แน่น
          7. เชื่อมต่อสายไฟสีดำจากโคมไฟอันใหม่ไปยังสายไฟสีดำของส่วนโคม บิดปลายสายไฟเข้าด้วยกันจนเป็นเกลียว แล้วใช้เครื่องมือตัดสายไฟ ตัดปลายสายไฟทิ้งระยะประมาณ ½ นิ้ว
          8. นำไวร์นัทมาคลุมสายไฟ บิดทวนเข็มนาฬิกาจนแน่น และไม่มีสายไฟเปลือย ๆ เล็ดลอดออกมา เสร็จแล้วทดสอบความแน่นด้วยการดึงสายไฟเพื่อดูว่าสายไวร์นัทยังหลวมอยู่หรือเปล่า ถ้ายังหลวม ต้องเชื่อมต่อสายไฟใหม่อีกครั้ง โดยต่อสายไฟสีขาวในลักษณะเดียวกับการต่อสายไฟสีดำ
          9. ค่อย ๆ ม้วนสายไฟทุกสายกลับเข้าสู่โคม ให้เป็นระเบียบ แล้วนำหลอดไฟอันใหม่ที่มีขนาดวัตต์ไม่เกินที่กำหนดไว้มาติดตั้ง
          10. นำโคมไฟเพดานอันใหม่มาครอบหลอดไฟ แล้วใช้ไขควงขันนอตติดโคมไฟเพดานไว้รอบ ๆ จากนั้นปล่อยกระแสไฟ แล้วลองเปิดสวิตช์ไฟเพื่อตรวจสอบการใช้งานดู
ข้อแนะนำ
               ในการติดตั้งไฟ LED นั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการต่อกราวด์ให้กับอุปกรณ์ เนื่องจากขณะ Surge protection ทำงานเพื่อป้องกันไฟเกิน จะบายพาสไฟที่เกินลงไปที่กราวด์ หากไม่ได้ต่อกราวด์ไว้ Surge protection ก็ไม่สามารถทำงานได้ จึงส่งผลให้ไฟ LED เสียหายได้เหมือนไม่มีวงจร Surge protectionก็ตาม Gurude.co