ขั้นตอนการตรวจสอบไฟภายในบ้านไม่ให้เกิดไฟรั่ว

1781
ไฟ

ปัจจุบันหลายคนคงเคยได้เห็นหรือได้อ่านข่าวเกี่ยวกับ “ ไฟ ” หรือ “ ไฟไหม้ ” จากสำนักข่าวหลายสำนักที่รายงานข่าวอยู่เป็นประจำหรืออาจจะมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับ ไฟฟ้า ไม่มากก็น้อยในการรายงานข่าวเนื่องจาก ไฟฟ้า เป็นปัจจัยหลักของคนในยุคในสมัยนี้ไปแล้วไม่ว่าบ้านไหนก็ต้องใช้ไฟฟ้าในการดำรงชีวิตแต่จะมีสักกี่คนที่เคยสังเกตุเห็นความผิดปกติของไฟภายในบ้านหรือสังเกตุจุดบกพร่องต่างๆที่อาจส่งผลให้ไฟไหม้ได้โดยเฉพาะเครื่องใช้ภายในบ้านต่างๆ ดังนั้นคุณต้องหมั่นสังเหตุและเอาใจใส่ในเรื่องของไฟฟ้าภายในบ้านบ้างว่ามีความผิดปกติหรือเสียหายทรุดโทรมอย่างไรเพราะส่วนต่างๆที่เชื่อมต่อเข้ากับไฟฟ้าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟไหม้หรือไฟฟ้าลัดวงจรโดยมีหลายปัจจัยที่น่าสนใจดังนี้
1. เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด : เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดล้วนมีอายุการใช้งานจำกัด หากเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าเกินไป หรือมีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานตาม มอก. หรือเกิดความผิดปกติจนวงจรไฟฟ้าเสียหาย สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้โดยง่าย 

2.ใช้คัตเอาต์ไฟฟ้าแบบเก่า : แม้ไฟฟ้าลัดวงจรไม่ได้มีสาเหตุโดยตรงมาจากการใช้คัตเอาต์แบบเก่า แต่คัตเอาต์ประเภทนี้จะตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าได้ก็ต่อเมื่อยกขึ้นลงด้วยมือ จึงไม่ตัดการทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยอย่างยิ่ง

3.ฉนวนสายไฟฉีกขาด : สายไฟทุกเส้นทุกชนิดจะมีพลาสติกห่อหุ้มซึ่งเป็นฉนวนเพื่อไม่ให้ลวดนำไฟฟ้าที่อยู่ภายในสัมผัสกันเองหรือไปสัมผัสกับสิ่งอื่น หากฉนวนสายไฟฉีกขาด ลวดนำไฟฟ้าอาจไปเสียดสีกับสายไฟหรือสื่อนำไฟฟ้าอื่นจนเกิดการลัดวงจรได้

4.ใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง : การใช้ไฟฟ้าเกินกำลังเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น สายไฟเส้นเล็กเกินไป ใช้กระแสไฟผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้ามากเกินไป หรือมีการต่อปลั๊กพ่วงมากเกินไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ามากเกินรับไหว จนเกิดเป็นความร้อนและลัดวงจรได้ในที่สุด

5.อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน : อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ ปลั๊กไฟ หรือปลั๊กราง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตลอดเวลา หากอุปกรณ์เหล่านี้ไม่มีระบบความปลอดภัยและมาตรฐานในการผลิตที่ดีพอ ก็อาจเกิดอาการปลั๊กไหม้ได้ง่าย

สิ่งที่ต้องทำการตรวจเช็ค
1.ทำการตรวจเช็คอุปกรณ์ควบคุม เบรคเกอร์ Safe T Cut ว่ามีการเสื่อมมีรอยไหม้หรือมีสัญลักษณ์ไฟแสดงสถาณะเตือนอยู่หรือไม่

2.ทำการตรวจเช็คมิเตอร์ไฟฟ้า ว่ามีการหมุนที่ผิดปกติหรือเร็วเกินไปหรือไม่โดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุดภายในบ้านรวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ออกให้หมด จากนั้นให้ดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่  หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่วควรเรียกช่างไฟฟ้าได้เลย

3.ทำการตรวจเช็คการเชื่อมต่อสายไฟ ว่ามีจุดไหนภายในบ้านเสื่อมเกินไปไหมและทำการแก้ไขโดยด่วน

4.ทำการตรวจเช็คปลั๊กทุกจุด ว่ามีการเสื่อมมีรอยไหม้หรือไม่

5.ทำการตรวจเช็คตู้ไฟประจำบ้านอยู่เป็นประจำๆ

6.ทำการตรวจเช็คสายดิน กราวน์ว่ายังคงเชื่อมต่ออยู่ดีและไม่ขาด Gurude.co