วิธีตรวจเช็คตู้เย็น

3788
ตู้เย็นไม่เย็น

            ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบ้านไหนจะไม่มีตู้เย็นเพราะเป็นอุปกรณ์ในการแชร์อาหารต่างๆไม่ว่าจะเป็นของสด,เนื้อสด,ผักสด เพื่อทำอาหารหรือใช้เพื่อแชร์เครื่องดื่มต่างๆให้มีความเย็นดื่มแล้วชื่นใจเหมาะกับอากาศในบ้านเราที่อากาศร้อน แต่หลายคนคงเคยเจอปัญหา ตู้เย็นไม่เย็น ซึ่งเป็นปัญหาหลักหากใครที่ใช้ตู้เย็นมาเป็นเวลานานหลายปีก็จะต้องประสบพบเจอปัญหา ตู้เย็นไม่เย็น อย่างแน่นอน เมื่อตู้เย็นไม่เย็นหรือไม่เย็นเท่าที่ควรนั้นจะส่งผลให้อาหารที่คุณแช่ไว้เสียหรือเน่าเร็วกว่าปกติ อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ เช่น คอยล์ร้อนทำงานหนักเกินไปจนส่งผลต่ออุณหภูมิในตู้เย็น ของในตู้เย็นอาจจะเยอะเกินไป หรือ ตัวควบคุมอุณหภูมิมีปัญหา จนส่งผลให้มอเตอร์ทำงานหนัก

ในวันนี้เราจึงมีวิธีการตรวจเช็คและตรวจสอบความผิดปกติของตู้เย็นว่าทำไม ตู้เย็นไม่เย็น ???

1. ควรตรวจสอบขอบยางตู้เย็น อย่าให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ
2. ควรเปลี่ยนขอบยางตู้เย็น ใหม่ทันที ที่ขอบยางขาด, เสื่อมสภาพ, ขึ้นเชื้อราจะส่งผลทำให้ตู้เย็นปิดไม่สนิทแล้วจะทำให้อากาศร้อนภายนอก เข้าไปภายในตู้เย็น ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก นอกจากนี้ความชื้นในอากาศยังเข้าไปในตู้เย็น ทำให้แผงเย็นหรือช่องทำน้ำแข็งเกาะเร็วกว่าปกติ ดังนั้นฝาตู้เย็นควรจะปิดให้สนิท อย่าให้มีรอยรั่ว ซึ่งสามารถทดสอบได้ดังนี้
          – ใช้กระดาษสอดระหว่าง ขอบยาง กับขอบประตูตู้เย็น เลื่อนกระดาษไปโดยรอบประตู ถ้าส่วนใดเลื่อนได้สะดวกไม่ฝืดก็แสดงว่าส่วนนั้นปิดไม่สนิทจึงควรทำการเปลี่ยนขอบยางตู้เย็นใหม่ได้แล้วนั้นเอง
          – เมื่อสังเกตเห็นว่าขอบยางตู้เย็น ขาด หรืออุปกรณ์ที่ช่วยปิดชำรุด ( เช่น มือจับหรือว่าตัวล็อค ) ไม่ควรฝืนใช้งานต่อ เพราะจะทำให้ตู้เย็นที่คุณใช้อยู่นั้นเปลืองไฟมากขึ้นและอาจทำให้ความเย็นในตู้เย็นลดน้อยลง
วิธีดูแลรักษาขอบยาง
1. เมื่อใช้ตู้แช่เย็นได้ระยะหนึ่งหรือระยะเวลาที่นานหลายๆปีคุณจะสังเกตได้ว่าขอบยางตู้เย็นจะเริ่มแข็งตัว วิธีแก้ไขคือ :  ให้ใช้น้ำร้อนใส่กาน้ำ แล้วเทลวกที่ขอบยางตู้เย็นให้ทั่ว ทิ้งไว้สักครู่ ขอบยางตู้เย็นจะเริ่มนิ่มลง (ควรถอดปลั๊กตู้เย็น / ตู้แช่ออกก่อนทำการเทน้ำร้อน)
2. หลังจากนั้นให้ใช้น้ำส้มสายชู (แบบธรรมดา) ชุบใส่ฟองน้ำแล้วเช็ดบางๆที่ขอบยางตู้เย็นซึ่งจะช่วยให้ขอบยางตู้เย็นไม่เป็นเชื้อราได้ง่ายอีด้วย
การติดตั้งและวางตำแหน่งตู้เย็นที่ถูกต้อง
1.การตั้งตู้เย็นในห้องครัวไม่ควรตั้งใกล้เตาไฟหรือหน้าต่างที่แสงแดดสามารถส่องถึงได้เพราะจะทำให้ตู้เย็นเกิดความร้อนง่าย ทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก และใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินจำเป็นเกินไป
3.ปลั๊กของตู้เย็นควรแยกออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น โดยปลั๊กที่เลือกใช้นั้นควรมี “ฟิวส์”เพื่อทำหน้าที่ตัดไฟและป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรหรือควรต่อสายดินเข้ากับจุดต่อสายดินด้านหลังตอนล่างของตู้เย็นด้วยก็จะปลอดภัยมากที่สุด
4.ตำแหน่งที่ตั้งตู้เย็นควรมีระยะห่างจากฝ้าเพดานอย่างน้อย 30 ซม. ด้านข้างควรห่างจากผนังอย่างน้อย 5 ซม.และด้านหลังตู้เย็นควรห่างจากผนังอย่างน้อย 10 ซม. เพื่อความสะดวกในการเปิด-ปิดและเพื่อการระบายความร้อนที่ดีกว่าแบบชิดติดมุมผนังนั้นเอง
5.ไม่ควรตั้งตู้เย็นในมุมอับและที่ๆมีความชื้นโดยเฉพาะบริเวณช่องมีรูระบายอากาศที่เปิดทำให้น้ำและฝนสามารถสาดถึงตู้เย็นเราได้ซึ่งจะทำให้ตู้เย็นช๊อตอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ Gurude.co