“ ผนังเบา ” ในที่นี้หมายถึงผนังที่มีโครงคร่าวไม้อะลูมิเนียม หรือเหล็กเป็นโครงสร้างหลัก และปิดทับด้วยวัสดุแผ่นผนัง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นยิปซัมหรือแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ซึ่งมีน้ำหนักเบาขึ้นชื่อว่าผนังเบาก็ต้องมีน้ำหนักเบากว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป เพราะโดยปกติแล้วตามแนวของผนังก่ออิฐฉาบปูนต้องรองรับด้วยแนวคานเพื่อความแข็งแรง แต่ผนังเบาไม่จำเป็นต้องมีคานรองรับ จึงเหมาะสำหรับการต่อเติมเปลี่ยนแปลงห้องที่ทำในภายหลังซึ่งง่ายต่อการจะต่อเติมดัดแปลงมุมต่างๆภายในบ้านให้พื้นที่ในบ้านได้มีการใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
สิ่งที่ควรรู้ก่อนการติดตั้งผนังเบา
ผนังเบามีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนและเสียงได้น้อยกว่าผนังแบบก่ออิฐทั่วๆไปเพราะการที่ ผนังเบา มีส่วนที่เพิ่มฉนวนกันความร้อนเข้าไปที่ช่องว่างระหว่างโครงคร่าวแล้วปิดทับด้วยแผ่นบอร์ดก็จะช่วยป้องกันความร้อนช่วยห้องเย็นขึ้น อีกทั้งฉนวนความร้อนยังสามารถช่วยกันเสียงได้เป็นอย่างดีหลายๆคนคงเข้าใจว่าอิฐมวลเบาสามารถใช้ทำผนังเบาได้ แต่จริงๆ แล้วอิฐมวลเบาก็มีน้ำหนักใกล้เคียงกับผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป อิฐมวลเบาจึงเหมาะกับงานภายนอกที่ต้องการความแข็งแรง ทนสภาพอากาศ ทนความร้อนมากกว่า “ ผนังเบา ”
แต่ข้อควรระวังงคือการแขวนของหนัก เช่น โทรทัศน์ กรอบรูปขนาดใหญ่ ต้องคำนึกถึงโครงสร้างภายในของผนังเบาด้วย ควรเสริมโครงคร่าวให้ถี่ขึ้น เช่น จากเดิมโครงคร่าวมีขนาดห่างกัน 60 ซม. ควรเปลี่ยนเป็น 40 หรือ 30 ซม. และควรยึดสิ่งที่แขวนกับโครงคร่าว ไม่ใช่ยึดกับบอร์ดที่ใช้ปิดผิว และช่วงระหว่างรอยต่อของแผ่นบอร์ดเป็นจุดที่สำคัญ เพราะเป็นจุดที่เกิดการแตกร้าวได้ง่ายที่สุดจากหลายสาเหตุ เช่น การยืดหดตัวของแผ่นบอร์ด การทรุดตัวของโครงสร้าง และการกระทบกระเทือนจากแรงภายนอก ควรฉาบด้วยอะคริลิคฉาบบางเป็นต้น
ข้อดี ผนังเบาหรือ ผนังภายใน
– การติดตั้งสะดวกรวดเร็ว รื้อถอนง่าย
– ผนังมีน้ำหนักเบา
– ติดตั้งวางระบบไฟและน้ำได้ง่าย
– กันความร้อน และเสียงได้ดี
ข้อเสีย ผนังเบาหรือ ผนังภายใน
– ผนังเบาแขวนของหนักมากไม่ได้
– รอยต่อแผ่นผนัง เป็นจุดที่เกิดการแตกร้าว และรั่วซึมมากที่สุด
– ความแข็งแรง ไม่เท่ากับผนังก่ออิฐ
ดังนั้นการสร้างห้อง หรือ ต่อเติม พื้นที่ส่วนตัว ควรเลือกผนังที่มีความแข็งแรงทนทาน และตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เมื่อใช้งานระยะยาวเป็นธรรมดาที่ต้องเกิดความเสียหาย เพราะหากติดตั้งหรือคำนวณพื้นที่และน้ำหนักไม่ดีอาจจะเกิดรอยต่อแผ่นผนังที่เกิดการแตกร้าว และรั่วซึมมากที่สุด ส่งผลให้เกิดความเสียหาย