เทคนิคการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์

8397
ทาสีเหล็กกัลวาไนซ์


               ก่อนที่เราจะรู้จักวิธีการ ทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ เราต้องทำความรู้จักกับเจ้าเหล็กกัลวาไนซ์ก่อนว่าเหล็กตัวนี้มันทำไมดีกว่าเหล็กประเภทอื่นๆ เหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel) ที่นิยมกันมากในปัจจุบันคือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน โดยจะชุบเหล็กลงไปในบ่อสังกะสีเหลวที่กำลังหลอมละลายในอุณหภูมิประมาณ 435-455 องศาเซลเซียส ซึ่งสังกะสีจะเคลือบติดกับพื้นผิวเหล็กหนามากขึ้นตามระยะเวลาที่แช่ในบ่อ โดยทั่วไปมักจะมีความหนาของชั้นเคลือบประมาณ 65 – 300 ไมครอน เหล็กกัลวาไนซ์ที่ชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนจะเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นส่วนประกอบของอาคารที่อยู่ภายนอกบ้าน ส่วนกลางแจ้ง หรือในบริเวณที่ต้องเจอกับความชื้นเป็นประจำ เช่น โครงสร้างหลังคา เสาธง เสาโคมไฟถนน โครงคร่าวผนัง รางน้ำฝน              
ข้อดีของเหล็กกัลป์วาไนซ์
– ข้อดีในการชุบกัลวาไนซ์ที่สำคัญที่สุด คือ ป้องกันการเกิดสนิมก่อนวัยอันควรและป้องกันการกัดกร่อนได้ดี
– เกิดการสลายตัวของพื้นผิวปีละ 1 ไมครอนเท่านั้น
– มีอายุการใช้งานเกิน 20 ปี
– เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องอยู่กลางแจ้งซึ่งจะต้องเผชิญลม ความร้อนจากแสงแดดหรือสารเคมีต่างๆ
– ราคาไม่แพง สะดวกต่อการใช้งาน อายุยาวนานกว่าการเคลือบแบบอย่างอื่น
               แต่เรามีวิธีที่ทำให้เหล็กกัลป์วาไนซ์สามารถใช้งานได้ทนทานมากขึ้นไปอีกด้วยการ ทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ ที่จะทำให้อายุการใช้งานของเจ้าเหล็กกัลวาไนซ์ได้นานมากกว่าเดิมอีกด้วย เราจะมาแนะนำการใช้สี ทาเหล็กกัลป์วาไนซ์ ผลิตภัณฑ์ดีๆอย่าง TOA  wash primer ทีโอเอ วอช ไพรเมอร์ เป็นสีระบบ 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นโมดิไฟด์ ไวนิล เรซิ่นและส่วนที่เป็นสารละลายกรดฟอสฟอริกเป็นสีรองพื้นที่ยึดเกาะได้ดีเยี่ยมทั้งบนเหล็กและอะลูมิเนียม นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของผงสีกันสนิมจึงมีสมบัติป้องกันการกัดกร่อนจากสภาวะแวดล้อม ใช้เป็นสีรองพื้นสำหรับพื้นผิวเหล็กและอะลูมิเนียม
พื้นที่ในการ ทาสีเหล็กกัลวาไนซ์
สำหรับผิวเก่า
– พื้นผิวที่จะใช้งานต้องสะอาด ปราศจากฝุ่น, คราบไข, คราบน้ำมัน, แวกซ์, คราบเกลือ, สีเก่า และ สิ่งปนเปื้อนต่างๆ
– พื้นผิวที่เป็นชอล์ค หรือ เสื่อมสภาพ ต้องขัดทำความสะอาดด้วยแปรงไนลอน
สำหรับผิวใหม่
– ทำความสะอาดพื้นผิวด้วยน้ำและน้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสม แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ก่อนทิ้งไว้ให้แห้งสนิท
การทาสีรองพื้น
               1. การผสม ทีโอเอ วอช ไพรเมอร์ ส่วน เอ และ ส่วน บี กับ ทีโอเอ วอช ไพรเมอร์ ทินเนอร์ เบอร์ 61
               – การทาเที่ยวที่ 1 แนะนำให้ผสมสี ส่วน เอ 8 ส่วน ต่อ ส่วน บี 2 ส่วน ต่อ ทินเนอร์ 5 ส่วน
               – การทาเที่ยวที่ 2 แนะนำให้ผสมสี ส่วน เอ 8 ส่วน ต่อ ส่วน บี 2 ส่วน ต่อ ทินเนอร์ 3 ส่วน
                2. แนะนำให้ทาด้วย ทีโอเอ วอช ไพรเมอร์ จำนวน 1 เที่ยว
               – ( ความหนาฟิล์มเปียก 50 – 100 ไมครอน ต่อ เที่ยว ใช้ระยะเวลาแห้งก่อนทาทับ 1 ชั่วโมง )
สีทับหน้า
               ทาด้วย สีเคลือบเงา ทีโอเอ อย่างน้อย 2 เที่ยว (ความหนาฟิล์มเปียก 80 – 100 ไมครอน ต่อ เที่ยว)
ข้อแนะนำในการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์
               อุณหภูมิของชิ้นงานจะต้องสูงกว่า 10 °C และสูงกว่าจุดน้ำค้างอย่างน้อย 3 °C
               อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่างมีผลต่อชิ้นงานและการแห้งตัวของฟิล์มสี Gurude.co

ในการเก็บรักษา จัดเก็บสินค้าในที่แห้ง มีอากาศถ่ายเทดี ปิดฝาให้สนิท ให้แน่นตลอดเวลา ไม่ควรเก็บในที่ร้อนและไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง