น้ำซึมเข้าบ้านแก้ได้ด้วยน้ำยากันซึม

3322
น้ำยากันซึม

               ในช่วงหน้าฝนหรือในช่วงที่ฝนยังไม่ตก คงมีหลายบ้านที่เคยเจอปัญหาน้ำซึมเข้าภายในตัวบ้านซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีแก้ไขหลายวิธีเช่นการใช้ น้ำยากันซึม , การทาสีกันซึม , การโป๊ว ฯลฯ มีทั้งสาเหตุจากการเกิดน้ำซึมและวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นมาให้ได้เพิ่มความรู้ความเข้าใจกันไม่มากก็น้อย เราจะยกตัวอย่าง 2 ปัจจัยปัญหาหลักๆที่บ้านคุณมีน้ำซึมเข้าบ้านดังนี้
               ปัญหาที่ 1 น้ำซึมที่ผนังหรือพื้นถึงแม้ฝนไม่ตก
     หากน้ำซึมเข้าบ้านทั้งๆที่ฝนไม่ได้ตก หรือไม่ได้อยู่ในช่วงหน้าฝน จะเป็นปัญหาจากน้ำภายในอาคารไม่ว่าจะเป็นน้ำจากท่อประปารั่ว หรือน้ำจากท่อระบายน้ำรั่ว ซึ่งมักจะเกิดในจุดที่ใกล้กับท่อเหล่านั้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ลานซักล้าง หรืออาจเป็นพื้นที่ทางผ่านท่อประปาและท่อระบายน้ำตรวจเช็คน้ำรั่วซึมได้ด้วยตัวเองก่อนทั้งนี้หากเป็นท่อประปารั่ว สามารถสังเกตได้จากมิเตอร์น้ำว่าหมุนอยู่หรือไม่ในขณะที่คุณทำการปิดน้ำทุกจุดแล้ว หากหมุนอยู่แสดงว่ามีจุดที่น้ำรั่ว แต่หากเป็นท่อระบายน้ำรั่วต้องอาศัยพิจารณาจากแบบระบบเดินท่อประปาของบ้าน หรือคาดเดาเส้นทางการเดินท่อระบายน้ำที่มีอยู่ เมื่อหาตำแหน่งท่อที่เกิดปัญหารั่วพบแล้วให้ทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อย โดยหากเป็นกรณีที่จำเป็นต้องทุบสกัดพื้นหรือผนังเพื่อซ่อมแซม อาจพิจารณาเดินท่อชุดใหม่ทดแทน
               ปัญหาที่ 2 น้ำซึมที่ผนังหรือพื้นในช่วงฝนตก
               ต้องทำการสังเกตบ้านว่าหากเป็นน้ำที่ซึมเข้ามาเป็นน้ำที่มาจากน้ำฝนโดยตรง มักเกิดจากผนังภายนอกนั้นมีรอยแตกร้าวของปูน ซึ่งมันอาจเกิดจากการแตกร้าวที่ผิวปูนฉาบโดยทั่วไป หรือเกิดจากการเจาะยึดเพื่อติดตั้งโครงเหล็กต่างๆ เช่น หลังคากันสาด ระแนงบังแดด ที่วางคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศ มักจะเป็นจุดที่น้ำสามารถแทรกซึมผ่านผนังเข้ามาจนทำให้สีทาผนังภายในบวมพองหรือบางกรณีน้ำแทรกตัวอยู่ภายในผนังและซึมออกที่พื้นก็เป็นได้เช่นกัน
               วิธีการแก้ไขปัญหา ทำได้ไม่ยาก โดยการแก้ปัญหาในจุดที่รั่วซึมภายนอก เราสามารถฉาบหรือใช้ น้ำยากันซึม เพื่อทำการซ่อมแซมรอยแตกร้าวที่ผนังภายนอกก่อนโดยใช้ น้ำยากันซึม อย่างTOA 211 ซึ่งเป็นน้ำยาลดน้ำ ประเภทพลาสติไซเซอร์ (Plasticizer) ใช้ผสมในคอนกรีตหรือมอร์ต้า ช่วยทำให้คอนกรีตมีความเหลวตัวสามารถเทได้ง่าย และมีคุณสมบัติการกันซึมได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีตให้น้อยลง ทำให้คอนกรีตทึบน้ำ แน่น แข็งแรง มีค่าการรับกำลังอัดสูงขึ้น ทาสีภายนอกทับและให้ทำการทาด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับน้ำยากันความชื้น TOA Moisture Guard ทาชุ่ม ๆ บนพื้นผิวนับจากพื้นสูงประมาณ 1 เมตร จำนวน 1 เที่ยว แล้วทิ้งให้แห้งอย่างน้อย  3 ชั่วโมงโดยไม่ต้องล้างออก จากนั้นให้ทาน้ำยารองพื้นปูนเก่า TOA Quick Primer ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันความเป็นด่างในพื้นปูนได้ดีเยี่ยมอีก จำนวน 1 เที่ยว จากนั้นจึงลอกสีทาผนังภายในที่บวมพองออกก่อนทาสีภายในใหม่ และหากวัสดุปูพื้นหลุดล่อนควรรื้อออกและติดตั้งใหม่
               ลักษณะเด่นของ TOA 211
TOA 211 คอนกรีต พลัส มีคุณประโยชน์ดังนี้คือ
– สำหรับงานกันซึม ช่วยให้คอนกรีตแน่นขึ้น ช่วยเพิ่มคุณสมบัติความทึบน้ำของคอนกรีต
– ช่วยเพิ่มความสามารถในการเท (Workability) ของคอนกรีตมากขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณน้ำในการผสม
– ลดอัตราการหดตัว เมื่อแห้งตัวและแข็งตัว ป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต
– ง่ายต่อการจี้เนื้อคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีตอัดตัวแน่นขึ้น ให้ค่ากำลังอัดและความทนทานของคอนกรีตสูงขึ้น
– เพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคเล็กๆ ของปูนซีเมนต์ได้ดี
– ไม่มีส่วนผสมของสารประกอบคลอไรด์ จึงไม่มีผลกระทบต่อการกัดกร่อนของเหล็กเสริม
                ​นอกจากนี้หากมีช่องว่างระหว่างวงกบประตู-หน้าต่างกับผนัง ก็จะทำให้น้ำผ่านเข้ามาภายในบ้านได้ เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเช่นกัน การแก้ไขนั้นขึ้นอยู่กับประเภทวัสดุวงกบ เช่น วงกบอะลูมิเนียมควรลอกซิลิโคนเดิมออกให้หมด ทำความสะอาดแล้วจึงยาแนวด้วยซิลิโคนใหม่ วงกบไม้ถ้ายังอยู่ในสภาพดีแต่แยกตัวจากผนังโดยรอบ ให้ทำความสะอาดและอุดช่องว่างโดยรอบด้วยซิลิโคน หรือ TOA 303 อะคริลิก ซีลแลนท์ ซึ่งเป็น อะคริลิกอุดโป๊วชนิดยืดหยุ่น Gurude.co