พื้นที่มีความทนทานต่อความชื้นต่อน้ำได้ดีที่สุดคือ พื้นพียู (Polyurethane Floor System) มีการเรียกชื่อเป็นหลายชื่อ เช่น พื้นพียู Screed, พื้น พียู Self Leveling หรือ พื้นพียู คอนกรีต ตามแต่จะเรียกกัน แต่มันคืออันเดียวกัน ซึ่งเราจะเรียกทั่วไปว่า “พื้น PU” ซึ่งเจ้าพื้นพียูนั้นถูกออกแบบมาสำหรับปกป้องผิวคอนกรีตจากการทำลายของน้ำ ความชื้น กรด-ด่างและสารเคมี ด้วยคุณสมบัติที่มีความแข็งเหมือนคอนกรีตและทนทาน พื้นพียูสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายประเภทตามความต้องการของผู้ใช้งาน พื้นพียูมีคุณสมบัติพิเศษที่ พื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) ไม่มีคือ การยอมให้ความชื้นไหลผ่านตัวฟิล์มสี นั้นเป็นข้อเด่นของพื้นพียูเพราะเจ้าพื้นพียูมันจะไม่มีอาการบวมหรือการหลุดร่อนจากความชื้น คุณสมบัติทนทานต่างๆเหล่านี้ทำให้พื้นพียูเหมาะกับพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ยา เวชกรรมและเครื่องสำอาง ฯลฯ
พื้นพียู (พื้น PU : Polyurethane Floor System) มี 3 ประเภทตามความหนาความหนาของฟิล์มสี คือ
1. พื้นพียูแบบบาง PU-LF มีความหนา 1.5-2 มิลลิเมตร เหมาะกับการใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา ห้อง Clean Room และห้องทดลอง มีคุณสมบัติทางเคมี เช่น ทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมีตัวทำละลายทินเนอร์และความชื้นได้ดี ที่สำคัญคือมีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นพียูประเภทเดียวอื่น
2. พื้นพียูแบบปานกลาง PU-MF มีความหนา 3-4 มิลลิเมตร เหมาะกับการใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เครื่องดื่ม พื้นพียูชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่หนักได้ ทนต่อการขีดข่วนและการกระแทกได้ดี มีคุณสมบัติทางเคมี เช่น ความทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมีและความชื้นได้ดี ที่สำคัญคือมีราคาย่อมเยาเมื่อเทียบกับพื้นพียูประเภทเดียวอื่น
3. พื้นพียูแบบหนามาก มีความหนา 5-10 มิลลิเมตร เหมาะกับการใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเคมี อาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง ลานโหลดสินค้า แท่นวางเครื่องจักร ทนทนต่อการขีดข่วนและการกระแทกได้มากขึ้น มีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี
แต่หากเราจะให้พื้นพียูมีความทนทานเพิ่มมากขึ้นไปอีกเราแนะนำให้คุณทำการทาเคลือบผิวพื้นพียู สาเหตุที่ต้องทำการเคลือบพื้น PU บนพื้นปูนขัดมันเพราะว่า พื้นปูน พื้นคอนกรีต พื้น Floor Hardener มีรอยแตก รอยร้าวและเป็นฝุ่นปูน ส่วนพื้นกระเบื้องมีร่องยาแนว ซึ่งรอยเหล่านี้จะเกิดเป็นที่สะสมของเชื้อรา เชื้อโรค ฝุ่นและการปนเปื้อนอื่นๆ ทำให้ไม่ผ่านมาตรฐาน
การใช้งานพื้นพียู
พื้น พียู สามารถใช้งานได้หลากหลายพื้นที่ทำงาน เช่น
– พื้น โรงงาน GMP
– พื้น โรงงานรับน้ำหนัก
– พื้น โรงงานเครื่องสำอางค์
– พื้นโรงงานอาหาร
– พื้นโกดัง
– พื้นคลังสินค้า
– พื้นกันลื่น
– พื้น โรงงานน้ำดื่ม
– พื้น โรงงานผลิตนม
– พื้นโรงงานอุตสาหกรรม
สรุปคือ พื้นพียูสามารถดูแลเกี่ยวกับเรื่องการทำความสะอาดที่ง่าย มีลักษณะที่ผิวด้าน และทนอุณหภูมิ ร้อน เย็น ที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น โรงน้ำแข็ง โรงงานผลิตเวชภัณฑ์ต่างๆ โรงงาน อุตสาหกรรมต่างๆ ทางเท้า ฟุตบาท พื้นพียูเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักมีกรดแลกติกอยู่ในสิ่งแวดล้อม นี่จึงเป็นเหตุที่อุตสาหกรรมอาหาร ที่ทำงานเกี่ยวกับนม ผลิตภัณฑ์จากนม และชีส จึงเลือกใช้พื้นพียูเป็นทางเลือกแรกๆในการทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน Gurude.co