ไขข้อข้องใจกระเบื้องปูพื้นบ้านแตกร่อน

1920
กระเบื้องปูพื้น

                คลายข้อสงสัยว่าทำไมกระเบื้องระเบิดคือลักษณะ กระเบื้องปูพื้น ที่ดันกันจนเกิดการแอ่นตัวและหลุดออกมาเป็นแผ่นหลายๆชิ้น ซึ่งสาเหตุหลักๆเกิดจากพื้นโครงสร้างใต้กระเบื้องมีอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดการยืดและหดตัวทำให้แผ่นกระเบื้องขยับตามพื้นโครงสร้าง แต่ก็มีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดการระเบิด เช่นกระเบื้องที่ปูมีการหดตัวและขยายตัวสูง ปูกระเบื้องแบบซาลาเปาหรือการทาปูนกาวซีเมนต์ไม่ทั่วแผ่น ทำให้มีความชื้นสะสมใต้แผ่นกระเบื้อง ปูกระเบื้องแบบไม่เว้นร่องยาแนว หรือปูชิดมากเกินไปซึ่งเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้กระเบื้องขยายตัวดันกันเองจนระเบิดขึ้นมาจะส่งผลให้มีน้ำซึมเข้าตามร่องกระเบื้องหรือน้ำจากใต้ดิน ทำให้เกิดความชื้นใต้กระเบื้อง เมื่อโดนความร้อนสูงๆ เกิดไอน้ำอยู่ด้านใต้ก็จะดันกระเบื้องขึ้น ส่วนมากจะเกิดบริเวณพื้นชั้น 1 ของอาคารหรือภายนอกอาคารที่โดนแดดพื้นผิวที่ปูกระเบื้องไม่สะอาดและแห้งหรือเป็นพื้นผิวปูนเก่าทำให้พื้นผิวไม่แข็งแรง
               กรณีกระเบื้องหลุดร่อนออกมาไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องที่ผนังหรือ การะเบื้องปูพื้น โดยไม่มีการโก่งตัวนั้นอาจจะเกิดจากการปูกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐานในสองลักษณะ คือ ผสมปูนทรายที่มีส่วนผสมไม่เหมาะสมสงผลให้ปูนทรายจึงยึดเกาะกระเบื้องได้ไม่ดี ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ปูนกาวสำหรับปูกระเบื้องที่มีคุณสมบัติในเรื่องของแรงยึดเกาะที่ดีกว่า และอีกอย่างคือการปูกระเบื้องแบบซาลาเปาก็คือการหยอดเป็นก้อนที่หลังแผ่นกระเบื้อง แล้วนำกระเบื้องไปวางและกดที่พื้นหรือผนังสงผลทำให้เนื้อปูนจึงไม่กระจายตัวให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นกระเบื้อง เมื่อเวลาผ่านไปจะหลุดร่อนออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระเบื้องปูพื้น ซึ่งถูกการกดทับเมื่อเราเดินเหยียบหรือวางทับด้วยเฟอร์นิเจอร์อะไรหนักๆเราสามารถตรวจสอบด้วยการใช้เหรียญเคาะตามกระเบื้องถ้าเคาะแล้วมีเสี่ยงโปร่งๆไม่แน่นชัดเลยซาลาเปามาแน่ๆ
การแก้ไข

               กรณีเพิ่งปูเสร็จให้บอกช่างแบบด่วนๆยังสามารถเลาะกระเบื้องก่อนปูนกาวจะแข็งตัวถาวร และปูใหม่ได้ หากปูนานแล้ว ถ้าไม่รีบก็ใช้งานไปก่อนหรือถ้าไม่สบายใจอยากซ่อมแซมให้ลองตรวจเช็คเผื่อว่ามีบริเวณอื่นๆด้วยแล้วเรียกช่างมาเคาะกระเบื้องแล้วฟังไปด้วยกันเลยว่ามีเสียงผิดปกติแผ่นไหนรึเปล่าเพื่อให้ช่างกระเทาะกระเบื้องแผ่นนั้นให้แตกและทำการสลักปูนเดิมออก แล้วจึงทาปูนกาวใหม่ให้เต็มพื้นที่ก่อนติดตั้งกระเบื้องแผ่นใหม่เข้าไป
               เบื้องต้น เราสามารถตรวจสอบง่ายๆ โดยการเคาะแผ่นกระเบื้อง มีเสียงดังแบบกลวงๆ ที่บ่งบอกว่ามีช่องว่างด้านใน หากกรณีเพิ่งปูเสร็จรีบแจ้งให้ช่างแก้ไขยังสามารถเลาะกระเบื้องก่อนปูนแข็งตัวถาวรและปูใหม่ได้หากปูนานแล้วถ้าไม่รีบก็ใช้งานไปก่อนหรือถ้าไม่สบายใจอยากซ่อมแซมให้ลองตรวจเช็คเผื่อว่ามีบริเวณอื่นๆด้วยแล้วเรียกช่างมาซ่อมแซมโดยการค่อยๆ เคาะกระเบื้องแผ่นดังกล่าวให้แตก ค่อยๆ สลักปูนเดิมออก แล้วจึงทาปูนกาวใหม่ให้เต็มพื้นที่ก่อนติดตั้งกระเบื้องแผ่นใหม่เข้าไป
ส่วนวิธีการบำรุงรักษา
กระเบื้องปูพื้น เราแนะนำว่าให้รักษาตามอาการหากกระเบื้องระเบิดให้ทำการกระเบื้องออก จากนั้นต้องขูดเนื้อกาวซีเมนต์เดิมให้พื้นเรียบสนิท ทำความสะอาดให้เรียบร้อยอย่ามีฝุ่นเวลาปูกระเบื้องทับไปใหม่จะได้ไม่มีดีเฟคค่อยๆทำเพราะจะได้ไม่ไปกระทบแผ่นอื่น Gurude.co